เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [3. ยุธัญชยวรรค] สโมธานกถา
ในภพที่เราเป็นยุธัญชัยกุมาร มหาโควินทพราหมณ์ คนเลี้ยงช้าง
อโยฆรราชโอรส ภัลลาติ สุวรรณสาม มฆเทพ
และเนมิราช บารมีเหล่านี้เป็นอุปบารมี
ในภพที่เราเป็นมโหสถ ผู้เป็นทรัพย์ของรัฐ กุณฑล ตัณฑิละ
และนกกระทา บารมีเหล่านี้เป็นปัญญาอุปบารมี 7
ในภพที่เราเป็นวิธูรบัณฑิตและสุริยพราหมณ์ มาตังคพราหมณ์
ผู้เป็นศิษย์เก่าของอาจารย์ บารมีทั้ง 2 นี้ เป็นปัญญาบารมี 8
ในภพที่เราเป็นพระราชาผู้มีศีล มีความเพียร
เป็นผู้ก่อเกิดสัตตุภัสตชาดก บารมีนี้แลเป็นปัญญาปรมัตถบารมี 9
ในภพที่เราเป็นพระราชา ผู้มีความบากบั่น
เป็นวิริยปรมัตถบารมี 10
ในภพที่เราเป็นธรรมปาลกุมารเป็นขันติบารมี 12
ในภพที่เราเป็นธรรมิกเทพบุตร
ทำสงครามกับอธรรมิกเทพบุตร
เรียกว่าขันติอุปบารมี 13
ในภพที่เราเป็นขันติวาทีดาบสแสวงหาพุทธภูมิ
ด้วยการบำเพ็ญขันติบารมี
ได้ทำกรรมที่ทำได้ยากเป็นอันมาก นี้เป็นขันติปรมัตถบารมี 14
ในภพที่เราเป็นสสบัณฑิต นกคุ่ม ซึ่งประกาศคุณสัจจะ
ทำไฟให้ดับด้วยสัจจะ นี้เป็นสัจจบารมี 15
ในภพที่เราเป็นปลาอยู่ในน้ำ ได้ทำสัจจะอย่างสูง
ทำฝนให้ตกห่าใหญ่ นี้เป็นสัจจบารมีของเรา
ในภพที่เราเป็นสุปารบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์
ยังเรือให้ข้ามสมุทรจนถึงฝั่งด้วยสัจจะ
เป็นกัณหทีปายนดาบส ระงับพิษได้ด้วยสัจจะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :777 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [3. ยุธัญชยวรรค] สโมธานกถา
และเป็นวานรข้ามกระแสแม่น้ำคงคาได้ด้วยสัจจะ
นี้เป็นบารมีของพระศาสดา บารมีนั้นเป็นอุปปารมี 16
ในภพที่เป็นสุตโสมราชา รักษาสัจจะอย่างสูง
ช่วยปล่อยกษัตริย์ 101 นี้เป็นสัจจปรมัตถบารมี 17
อะไรที่จะเป็นความพอใจไปกว่าอธิษฐาน นี้เป็นอธิษฐานบารมี 18
ในภพที่เราเป็นมาตังคชฎิลและช้างมาตังคะ
นี้เป็นอธิษฐานอุปบารมี 19
ในภพที่เราเป็นมูคปักขกุมารเป็นอธิษฐานปรมัตถบารมี 20
ในภพที่เราเป็นมหากัณหฤๅษีและพระเจ้าโสธนะ
และบารมี 2 อย่างคือ
ในภพที่เราเป็นพระเจ้าพรหมทัตต์และคัณฑิติณฑกะ
ที่กล่าวมาแล้วเป็นเมตตาบารมี 21
ในภพที่เราเป็นโสณนันทบัณฑิตผู้ทำความรัก
บารมีเหล่านั้นเป็นเมตตาอุปบารมี 22
ในภพที่เราเป็นพระเจ้าเอกราช เป็นบารมีไม่มีของผู้อื่นเหมือน
นี้เป็นเมตตาปรมัตถบารมี 23
ในภพที่เราเป็นนกแขกเต้า 2 ครั้ง เป็นอุเบกขาบารมี 24
ในภพที่เราเป็นโลมหังสบัณฑิต เป็นอุเบกขาปรมัตถบารมี 26
บารมีของเรา 10 ประการนี้ เป็นส่วนแห่งพระโพธิญาณอันเลิศ
บารมีที่เกินกว่า 10 ไม่มี และบารมีที่หย่อนกว่า 10 ก็ไม่มี
เราบำเพ็ญบารมีทุกอย่าง ไม่ยิ่งไม่หย่อน
เป็นบารมี 10 ประการฉะนี้แล
สโมธานกถา จบ
จริยาปิฎก จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 33 หน้า :778 }